ข้ามไปเนื้อหา

คัมภีร์นอกสารบบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คัมภีร์นอกสารบบ[1] (อังกฤษ: Apocrypha; กรีก: ἀπόκρυφα สิ่งที่ซ่อนเร้น, ยากที่จะเข้าใจ, หลอกลวง, จากแหล่งข้อมูลที่ไม่อาจยืนยันได้)[2] ในทางศาสนาคริสต์ หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับประวัติชีวิตของพระเยซู แต่ไม่ได้บรรจุในสารบบคัมภีร์ไบเบิล และไม่ได้รับการยอมรับจากคริสตจักรส่วนใหญ่ คัมภีร์ดังกล่าวมักเขียนไม่สอดคล้องกับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์กระแสหลัก

โดยทั่วไปแล้วจะเป็นคำที่ใช้กับวรรณกรรมทางศาสนาคริสต์ที่ถือว่ามีประโยชน์แต่อาจจะไม่มีคุณสมบัติที่เรียกว่าการดลใจจากพระเจ้า ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่าพระวรสารชาวฮีบรูหรืองานเขียนเชิงอไญยนิยมเป็นงาน “คัมภีร์นอกสารบบ” จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มคัมภีร์นอกสารบบโดยคริสตชนนิกายออร์ทอดอกซ์ งานวรรณกรรมที่ไม่ใช่พระวรสารคืองานวรรณกรรมที่ความเที่ยงแท้ของเนื้อหาเป็นที่น่ากังขาหรือการเขียนที่เป็นยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อของลัทธิหรือแนวต่าง ๆ ในการระบุว่าวรรณกรรมฉบับใดเป็นของแท้แล้ว ก็จะสรุปได้ว่างานเขียนหลายฉบับก็จะถือว่าเป็น “คัมภีร์นอกสารบบ”

นิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คัมภีร์พันธสัญญาเดิมตามสารบบเซปตัวจินต์ จึงยอมรับ "คัมภีร์อธิกธรรม" เป็นคัมภีร์สารบบที่สองในพันธสัญญาเดิมด้วย แต่นิกายโปรเตสแตนต์ใช้สารบบคัมภีร์ตามสภาแจมเนียซึ่งไม่ยอมรับคัมภีร์ชุดดังกล่าว จึงถือว่าคัมภีร์อธิกธรรมเป็นคัมภีร์นอกสารบบ[1]

คัมภีร์นอกสารบบในภาคพันธสัญญาเดิม

[แก้]

คัมภีร์สารบบที่สองของนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์

[แก้]
  1. หนังสือโทบิต เรื่องแต่งเกี่ยวกับศาสนาเตือนให้มีความเชื่อในพระเจ้า แม้ในเวลาที่ดูเหมือนว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้ง
  2. หนังสือยูดิธ เรื่องแต่งขึ้นเพื่อสอนถึงบทบาทของชาวอิสราเอลในแผนการกอบกู้ และชะตากรรมของมนุษยชาติ
  3. หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 1 เรื่องราวการต่อสู้ของชาวยิวเพื่อปกป้องการนับถือศาสนา และความซื่อสัตย์ต่อธรรมบัญญัติ
  4. หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 2 เรื่องราวของการกบฏ จนถึงชัยชนะของขาวยิวและอิสรภาพ เป้าหมายคือการสั่งสอนและเตือนใจในการประพฤติตน
  5. หนังสือปรีชาญาณ ปรีชาญาณในรูปของบุคคลที่เป็นดังผู้ปกป้องผู้ชอบธรรม และการประณามการนับถือรูปเคารพ
  6. หนังสือบุตรสิรา ยืนยันกฎศีลธรรมของพระเจ้าความรับผิดชอบของมนุษย์ต่อบาปและการตอบแทนจากพระเจ้า
  7. หนังสือบารุค การเล่าซ้ำเรื่องการเนรเทศเพื่อให้ชาวยิวสำนึกถึงความผิด

คัมภีร์สารบบที่สองของนิกายออร์ทอดอกซ์

[แก้]
  1. หนังสือเอสดราส ฉบับที่ 1
  2. หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 3
  3. หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 4
  4. คำอธิษฐานของมนัสเสห์
  5. จดหมายของเยเรมีย์

พันธสัญญาเดิมนอกสารบบอื่น ๆ

[แก้]
  1. หนังสือปัญญาของโซโลมอน
  2. หนังสือสิรัค
  3. คำอธิษฐานของอาซาริยาห์
  4. ดาเนียลกับซูซันนา
  5. เบลและมังกร
  6. หนังสือสดุดี บทที่ 151
  7. หนังสือของจูบิลลีส์
  8. หนังสือของอาดัมและอีฟ
  9. หนังสือชีวิตอาดัมและอีฟ ในสำนวนภาษาสโลวัค
  10. หนังสือชิ้นส่วนวิวรณ์ของโมเสส
  11. หนังสือการพลีชีพของอิสยาห์
  12. หนังสือเอโนค ฉบับที่ 1
  13. หนังสืออริสเทียส
  14. หนังสือวิวรณ์ของอาดัม
  15. หนังสือวิวรณ์ของเอสดราส
  16. หนังสือพันธสัญญาที่สองของเสธผู้ยิ่งใหญ่
  17. หนังสือพันธสัญญาของอับราฮัม
  18. หนังสือของอาดัมและอีฟ เล่ม 1
  19. หนังสือของอาดัมและอีฟ เล่ม 2
  20. หนังสือความลับของเอโนค
  21. เพลงสดุดีของโซโลมอน
  22. บทกวีของโซโลมอน
  23. พันธสัญญาของ 12 ปิตาจารย์
  24. พันธสัญญาของรูเบน
  25. พันธสัญญาของสิเมโอน
  26. พันธสัญญาของเลวี
  27. พันธสัญญาของยูดาห์
  28. พันธสัญญาของอิสสาคาร์
  29. พันธสัญญาของเศบุลุน
  30. พันธสัญญาของดาน
  31. พันธสัญญาของนัฟทาลี
  32. พันธสัญญาของกาด
  33. พันธสัญญาของอาเชอร์
  34. พันธสัญญาของโยเซฟ
  35. พันธสัญญาของเบนจามิน

คัมภีร์นอกสารบบในภาคพันธสัญญาใหม่

[แก้]

พระวรสารนอกสารบบ

[แก้]
  1. พระวรสารวัยเด็กของพระเยซูโดยโธมัส-ภาษากรีก ก.
  2. พระวรสารวัยเด็กของพระเยซูโดยโธมัส-ภาษากรีก ข.
  3. พระวรสารวัยเด็กของพระเยซูโดยโธมัส-ภาษาละติน
  4. บันทึกของโธมัสที่รวบรวมในศตวรรษที่ 5
  5. พระวรสารวัยเด็กของพระเยซูในภาษาอาหรับ
  6. พระวรสารนักบุญยากอบ
  7. พระวรสารนักบุญมารีย์
  8. พระวรสารของมารีแห่งเบธานี
  9. พระวรสารของมัทธิว-เทียม
  10. พระวรสารของนิโคเดมัส หรือ กิจการของปีลาต
  11. พระวรสารนักบุญบาร์โธโลมิว
  12. พระวรสารนักบุญบารนาบัส
  13. พระวรสารนักบุญเปโตร
  14. พระวรสารนักบุญโธมัส
  15. พระวรสารนักบุญฟิลิป
  16. พระวรสารขององค์พระผู้เป็นเจ้า โดย มาเซียน
  17. พระวรสารลับของนักบุญมาระโก
  18. พระวรสารของยูดาส
  19. พระวรสารของชาวฮีบรู
  20. พระวรสารของชาวอีไบโอไนท์

กิจการของอัครทูตนอกสารบบ

[แก้]
  1. กิจการของแอนดรู
  2. กิจการและการพลีชีพของอันดรูว์
  3. กิจการของของอันดรูว์และมัทธิว
  4. กิจการของบารนาบัส
  5. การพลีชีพของบาร์โธโลมิว
  6. กิจการของยอห์น
  7. ความลับแห่งตอนตัดทอนจากกิจการของยอห์น
  8. กิจการของยอห์น
  9. ประวัติของโยเซฟ ช่างไม้
  10. หนังสือของยอห์นเกี่ยวกับมรณกรรมของมารีย์
  11. การจากไปของนางมารี
  12. กิจการและการพลีชีพของมัทธิว
  13. การพลีชีพของมัทธิว
  14. กิจการของเปาโล
  15. กิจการของเปาโลและเธคลา
  16. กิจการของเปโตร
  17. กิจการของเปโตรและอันดรูว์
  18. กิจการของเปโตรกับเปาโล
  19. กิจการของเปโตรและสิบสองอัครสาวก
  20. กิจการของฟิลิป
  21. รายงานของปอนทิอัส ปีลาดต่อทิเบเรียส
  22. การยอมแพ้ของปอนทิอัส ปีลาต
  23. ความตายของปีลาต
  24. กิจการของธัดเดอัส
  25. กิจการของโธมัส
  26. หนังสือของโธมัส นักโต้แย้ง
  27. ความสำเร็จของโธมัส

วิวรณ์นอกสารบบ

[แก้]
  1. วิวรณ์ของอาดัม
  2. วิวรณ์ของเอสดราส
  3. วิวรณ์ของยากอบ ฉบับ 1
  4. วิวรณ์ของยากอบ ฉบับ 2
  5. วิวรณ์ของยอห์นนักศาสนศาสตร์
  6. วิวรณ์ของโมเสส
  7. วิวรณ์ของเปาโล
  8. วิวรณ์ของเปาโล-บางส่วน
  9. วิวรณ์ของเปาโล
  10. วิวรณ์ของเปโตร
  11. นิมิตของเปาโล
  12. วิวรณ์ของเปโตร
  13. วิวรณ์ของเปโตร-บางส่วน
  14. วิวรณ์ของเสดราช
  15. วิวรณ์ของสเตเฟน
  16. วิวรณ์ของโธมัส
  17. วิวรณ์ของผู้เป็นพรหมจารี

พันธสัญญาใหม่นอกสารบบอื่น ๆ

[แก้]
  1. คำสอนของอัครทูตอัดเดอัส
  2. จดหมายฝากของอัครทูต
  3. กฏของชุมชน
  4. หนังสืออพอคคริฟฟาของยากอบ
  5. จดหมายโต้ตอบระหว่างพระเยซูกับอัปการ์
  6. โซเฟียของพระเยซูคริสต์
  7. ยอห์น ผู้ประกาศ
  8. หนังสือลับของยอห์น
  9. เรื่องเล่าของโยเซฟ อริมาเธีย
  10. จดหมายฝากของชาวเมืองเลาดีเซีย
  11. จดหมายโต้ตอบระหว่างเปาโลกับเซเนกา
  12. คำอธิษฐานของอัครทุตเปาโล
  13. จดหมายของเปโตรถึงฟิลิป
  14. จดหมายของปอนทิอัส ปีลาดถึงจักรพรรดิโรม
  15. รายงานของปีลาตถึงซีซาร์
  16. รายงานของปีลาตถึงทิเบเรียส
  17. ส่วนตัดทอนจากพิสทิส โซเฟีย
  18. การล้างแค้นของพระผู้ช่วยให้รอด
  19. แผ่นจารึกของเสธ
  20. หนังสือของโธมัส ผู้โต้แย้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552. 734 หน้า. หน้า 58-59. ISBN 978-616-7073-03-3
  2. Specifically, ἀπόκρυφα is the neuter plural of ἀπόκρυφος, a participle derived from the verb ἀποκρύπτω [infinitive: ἀποκρύπτειν], "to hide something away."

ดูเพิ่ม

[แก้]