เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง
เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง (อังกฤษ: Jōmon Pottery) หรือ โจมงโดกิ (ญี่ปุ่น: 縄文土器; โรมาจิ: Jōmon doki) เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเครื่องเคลือบโบราณ ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างยุคโจมงในญี่ปุ่น คำว่า “โจมง” ("Jōmon"; 縄文) นั้นแปลว่า "ลายเป็นเชือก" (rope-patterned) ในภาษาญี่ปุ่นอันสื่อถึงลวดลายที่ใช้เชือกกดลงไปบนดินเหนียว ภาชนะดินเผาโบราณนี้ได้รับการยอมรับทั่วไปว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นหนึ่งในชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[1]
การขุดค้น
[แก้]พื้นที่ขุดค้นโอได ยามาโมโตะ ที่หนึ่ง (Odai Yamamoto I site) ในจังหวัดอาโอโมริ ในปัจจุบันมีเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น การขุดค้นในปี 1998 ได้พบเศษเครื่องเคลือบ 46 ชิ้น ซึ่งมีอายุราว 14,500 ก่อนคริสต์กาล (หรือ 16,500 ก่อนกาลปัจจุบัน); จึงทำให้โบราณวัตถุเหล่านี้เป็นหนึ่งในเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยขุดพบ[2] ลักษณะนั้นเรียบง่าย ไม่มีการตกแต่ง
เครื่องปั้นดินเผาลายนูนแนวนอน ('Linear-relief') นั้นพบที่ถ้ำหมายเลขสาม ฟูกูอิ (Fukui Cave Layer III) อายุราย 13,850–12,250 ก่อนคริสต์กาล แหล่งขุดค้นนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดนางาซากิ, เกาะคิวชู ทั้งแบบลายนูนแนวนอน (linear-relief) และลายกดตะปู ('nail-impressed') มีการค้นพบที่เนินฝังศพเปลือกหอยโตริฮามะ (Torihama shell mound) ในจังหวัดฟูกูอิ อายุราว 12000-11000 ก่อนคริสต์กาล[3] นอกจากนี้ยังพบซากเครื่องปั้นดินเผาบางส่วนในถ้ำบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคิวชู อายุราว 12,700 ก่อคริสต์กาลเมื่อตรวจด้วยวิธีทางกัมมันตภาพรังสี[4]
อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่ามีเครื่องปั้นดินเผาโจมงอีกมากที่น่าจะสร้างขึ้นก่อนช่วงเวลาเหล่านี้ แต่ด้วยความกำกวมและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ล้วนอ้างอายุของโบราณวัตถุโดยใช้เทคนิกการประเมินอายุที่ต่างกัน จึงทำให้ยากที่จะระบุได้ชัดเจนว่าเครื่องปั้นดินเผาโจมงนั้นมีอายุเก่าแก่ที่สุดคือเมื่อไร[1][5]
ดูเพิ่ม
[แก้]- Corded Ware culture ในวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของยุโรป
- Emishi people
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Craig, O.E; Saul, H. (2013). "Earliest evidence for the use of pottery". Nature. 496 (7445): 351–4. doi:10.1038/nature12109. PMID 23575637.
- ↑ Kaner, S. (2003). "Jomon pottery, Japan". Current World Archaeology. Current Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-18. สืบค้นเมื่อ 27 Sep 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Junko Habu, Ancient Jomon of Japan. Volume 4 of Case Studies in Early Societies. Cambridge University Press, 2004 ISBN 0521776708 p.29
- ↑ Rice, Prudence M. “On the Origins of Pottery.” Journal of Archaeological Method and Theory 6, no. 1 (1999): 1–54. Database on-line. Springerlink; accessed October 3, 2007.
- ↑ Kuzmin, Yaroslav V. “Chronology of the earliest pottery in East Asia: progress and pitfalls.” Antiquity 80, (2006): 362–371. Database on-line. EBSCOhost; accessed October 3, 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Japanese Pottery Dogu – Clay Figurines
- Bridge of dreams: the Mary Griggs Burke collection of Japanese art, a catalog from The Metropolitan Museum of Art Libraries (fully available online as PDF), which contains material on Jōmon pottery (see index)
- Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan, Nara National Research Institute for Cultural Properties