ข้ามไปเนื้อหา

อัตราเร็วไฮเปอร์โซนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาซา X-43 ที่ความเร็วระดับ มัค 7
การจำลองอัตราเร็วไฮเปอร์โซนิก (มัค 5)

ในวิชาอากาศพลศาสตร์ (อังกฤษ: aerodynamics) อัตราเร็วไฮเปอร์โซนิก หรือ อัตราเร็วเหนือเสียงขั้นสูง เป็นหนึ่งในอัตราความเร็วที่เหนือกว่าความเร็วเสียงหลายเท่าตัว (แม้ว่าต้นกำเนิดของคำจะเหมือนกันกับคำ super คือเป็นเพียงคำภาษาละตินที่ถอดความมาจากคำภาษากรีกว่า hyper ที่แปลว่า "อุตร" หรือ "เกินไป" หรือ "พ้นไป") ตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เป็นคำที่ได้รับการสันนิษฐานว่าโดยทั่วไปแล้วเพื่อที่จะอ้างถึงความเร็วในระดับมัค 5 และเหนือขึ้นไปกว่านั้น

การที่มีเลขมัคที่เที่ยงตรงแน่นอนนั้นอาจกล่าวได้ว่าอากาศยานลำนั้น ๆ กำลังบินไปด้วยอัตราเร็วไฮเปอร์โซนิกที่แตกต่างกันไป, เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแต่ละส่วนในกระแสอากาศ (เช่นการแยกออกจากกันในระดับโมเลกุลและการไอออนไนซ์) เกิดขึ้นที่อัตราเร็วที่แตกต่างกัน; ผลลัพธ์เหล่านี้โดยรวมกลายเป็นสิ่งสำคัญที่อัตราเร็วประมาณมัค 5 ระบบกฏเกณฑ์ของอัตราเร็วระดับไฮเปอร์โซนิกมักจะกำหนดไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเมื่อระบบแรมเจ็ตไม่ทำการผลิตแรงผลักดันสุทธิออกมา