ยาลดกรด
ยาลดกรด[1] (อังกฤษ: antacid) เป็นสารลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และอาจช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารย่อยไม่ดี และท้องปั่นป่วน[2] มียาลดกรดหลายชนิดรวมทั้งโซเดียมไบคาร์บอเนต อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ผลข้างเคียงของยาขึ้นอยู่กับชนิดของยารวมทั้งท้องร่วง ท้องผูก กระดูกพรุนถ้าใช้ในระยะยาว และอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ เมื่อทานพร้อมกัน ยาที่วางขายอาจผสมรวมกับยาอื่น ๆ ซึ่งสามารถช่วยควบคุมลมในท้อง และเพิ่มสมรรถภาพเพื่อปัองกันกรดไหลย้อนเป็นต้น ยาเพียงแต่บรรเทาอาการเท่านั้น จึงควรใช้เมื่อมีอาการไม่มาก และยาจริง ๆ ก็มีประสิทธิผลน้อยเทียบกับยาอื่น ๆ ในการช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ไม่ควรใช้ยาเป็นประจำแทนยาที่หมอสั่ง เพราะยาสามารถซ่อนอาการของโรคที่หนักกว่าอื่น ๆ ได้ ควรปรึกษาแพทย์ถ้าต้องใช้ยาเป็นประจำเกินกว่า 2 อาทิตย์[3]
ให้สังเกตว่ายาลดกรดไม่สามารถช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร นิ่วถุงน้ำดี และปัญหาลำไส้ต่าง ๆ ได้ และควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ[4]
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถ้าต้องทานยาลดกรดเป็นประจำและมีเหตุดังต่อไปนี้ คือ[4]
- มีโรคไต ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ
- ทานอาหารมีเกลือน้อยอยู่
- ทานแคลเซียมเพิ่มอยู่แล้ว
- ทานยาอื่น ๆ อยู่ทุกวัน
- มีนิ่วไต
การใช้ทางการแพทย์
[แก้]ยาลดกรดหาซื้อเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ และใช้ทานเพื่อแก้ปัญหาอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งเป็นอาการหลักอย่างหนึ่งของโรคกรดไหลย้อนและอาหารย่อยไม่ดี แต่ยาก็ใช้เพียงแก้อาการเท่านั้นและดังนั้น จึงควรใช้เมื่อมีอาการไม่มากเท่านั้น[5]
ยาลดกรดต่างจากยาระงับการหลั่งกรดเช่นสารต้านตัวรับเอช2 (H2-receptor antagonist) หรือยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) และก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย คือ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเหตุของแผลเปื่อยกระเพาะอาหารส่วนมากด้วย[5]
ผลข้างเคียง
[แก้]ยาแบบที่มีแมกนีเซียมอย่างเดียว (เช่น แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์) อาจทำให้ท้องร่วง แบบที่มีแคลเซียมหรืออะลูมิเนียมเท่านั้นอาจทำให้ท้องผูกและในระยะยาวแม้มีน้อย อาจก่อนิ่วไต ส่วนแบบผสมกันระหว่างแมกนีเซียมและแคลเซียม/อะลูมิเนียม อาจจะสมดุลทำให้ไม่ท้องผูกท้องร่วง การใช้แบบอะลูมิเนียมในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภาวะกระดูกพรุน[4][6]
ยาลดกรดอาจเปลี่ยนการดูดซึมยาอื่น ๆ ที่ใช้อยู่ ดังนั้น มันอาจจะดีถ้าสามารถทานยาอื่น 1 ชม. ก่อน หรือ 4 ชม. หลังทานยาลดกรด[4]
กลไก
[แก้]เมื่อกระเพาะอาหารผลิตกรดมากเกิน อาจก่อความเสียหายในหลอดอาหารสำหรับคนไข้โรคกรดไหลย้อน ยาลดกรดจะมีไอออนที่เป็นด่างซึ่งช่วยทำกรดกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง ซึ่งลดความเสียหายและความเจ็บปวด[2]
สูตรและยี่ห้อ
[แก้]ยาลดกรดอาจประกอบกับส่วนผสมที่มีฤทธิ์อื่น ๆ เช่นกับ simethicone เพื่อควบคุมแก๊ส หรือกับกรดอัลจินิก (alginic acid) ซึ่งจะสร้างตัวช่วยกั้นกรดไม่ให้ไหลออกจากกระเพาะ (เช่นยี่ห้อกาวิสคอน)[3]
ยาเม็ดฟู่
[แก้]ยาเม็ดฟู่ออกแบบให้ละลายในน้ำแล้วปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก[7][8][9] ส่วนผสมสามัญก็คือกรดซิตริกและโซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ยาเช่นนี้อาจมีแอสไพริน[10] โซเดียมคาร์บอเนต หรือ tartaric acid[11]
Algeldrate/อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์
[แก้]ยาที่ใช้ชื่อสามัญเป็น algeldrate จะมีอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เป็นยาลดกรด ซึ่งอาจดีกว่าแบบอื่น ๆ เช่น โซเดียมคาร์บอเนต เพราะละลายน้ำไม่ได้ จึงไม่เพิ่มความเป็นด่างของกระเพาะอาหารเกิน และดังนั้นไม่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดเพิ่ม ยี่ห้อต่าง ๆ รวมทั้ง กาวิสคอน, Alu-Cap Aludrox และ Pepsamar ในปี 2016 กาวิสคอนเป็นยาซื้อได้เองโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ที่ขายดีที่สุดในบริเตนใหญ่ โดยมียอดขายถึง 62 ล้านปอนด์ (ประมาณ 2,967 ล้านบาท)[12] ยาจะทำปฏิกิริยากับกรดที่เกินในกระเพาะ โดยลดความเป็นกรดของสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร[13] ซึ่งอาจบรรเทาอาการแผลเปื่อย แสบร้อนกลางอก และอาหารไม่ย่อย
แต่ผลิตภัณฑ์เช่นนี้สามารถทำให้ท้องผูก เพราะไอออนของอะลูมิเนียมจะระงับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในทางเดินอาหาร ลดการบีบรูด และดังนั้น เพิ่มเวลาที่อุจจาระจะดำเนินผ่านลำไส้ใหญ่[6] แต่ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ลดปัญหาเช่นนี้โดยบวกยากับแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือแมกนีเซียมคาร์บอนเนต ซึ่งจะช่วยให้ระบาย[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]- โรคกรดไหลย้อน
- อาการแสบกลางอก
- ยายับยั้งการหลั่งกรด เป็นยาอื่นที่สามารถใช้ระงับกรด ปกติจะต้องให้แพทย์สั่ง
- สารต้านตัวรับเอช2 เป็นยาอื่นที่สามารถใช้ระงับกรด ในบางกรณีสามารถซื้อได้เอง
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "antacid", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) ยาลดกรด
- ↑ 2.0 2.1 Internal Clinical Guidelines Team (UK) (2014). Dyspepsia and Gastro-Oesophageal Reflux Disease: Investigation and Management of Dyspepsia, Symptoms Suggestive of Gastro-Oesophageal Reflux Disease, or Both. National Institute for Health and Care Excellence: Clinical Guidelines. London: National Institute for Health and Care Excellence (UK). PMID 25340236.
- ↑ 3.0 3.1 "Antacids". International Foundation for Functional Gastrointestinal Disorders (IFFGD). 2015-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28. (Adapted from IFFGD Publication #520 by W. Grant Thompson)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Taking Antacids". U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health, U.S. National Library of Medicine, MedlinePlus. 2018-08-14. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 5.0 5.1 "Consumer Summary - Treatment Options for GERD or Acid Reflux Disease: A Review of the Research for Adults". U.S. Department of Health & Human Services. Agency for Healthcare Research and Quality. 2011-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. Full Article (archived)PDF
- ↑ 6.0 6.1 6.2
Washington, Neena (1991-08-02). Antacids and Anti Reflux Agents. Boca Raton, FL: CRC Press. p. 10. ISBN 0-8493-5444-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Dubogrey, Ilya (2013). "Putting the Fizz into Formulation". European Pharmaceutical Contractor. No. Autumn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-28. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
- ↑ British Pharmacopeia 2003
- ↑ International Pharmacopoeia 2006. World Health Organization. 2006. p. 966. ISBN 978-92-4-156301-7. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
- ↑ "Alka Seltzer Directions of use, Sodium & Aspirin content - Alka Seltzer relief from Headaches, Migraine & Upset stomach". alkaseltzer.ie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
- ↑ Blair, G. T.; DeFraties, J. J. (2000). "Hydroxy Dicarboxylic Acids". Kirk-Othmer Encyclopedia of Chemical Technology. Kirk Othmer Encyclopedia of Chemical Technology. pp. 1–19. doi:10.1002/0471238961.0825041802120109.a01. ISBN 978-0471238966.
- ↑ "A breakdown of the over-the-counter medicines market in Britain in 2016". Pharmaceutical Journal. 2017-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-29.
- ↑ Galbraith, A; Bullock, S; Manias, E; Hunt, B.; Richards, A. (1999). Fundamentals of pharmacology: a text for nurses and health professionals. Harlow: Pearson. p. 482.