พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย | |
---|---|
33°45′46″N 84°23′41″W / 33.76278°N 84.39472°W | |
วันที่เปิด | 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 |
ที่ตั้ง | แอตแลนตา, จอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา |
ปริมาตรตู้ใหญ่ | 6.3 ล้าน US gallon (24,000 ลูกบาศก์เมตร) |
ปริมาตรรวม | มากกว่า 11 ล้าน US gallon (42,000 ลูกบาศก์เมตร) |
นักท่องเที่ยวต่อปี | 2.5 ล้านคน (2018) |
สมาชิกภาพ |
|
เว็บไซต์ | georgiaaquarium |
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย (อังกฤษ: Georgia Aquarium) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ในบริเวณ Pemberton Palace จัดว่าเป็น Aquarium ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณน้ำมากกว่า 8.1 ล้าน US gallons จัดแสดงสัตว์มากกว่า 100,000 ตัวจาก 500 ชนิด ตัวอย่างสัตว์ที่มีชื่อเสียงของ Aquarium คือ ฉลามวาฬสี่ตัว วาฬเบลูกาสามตัว และกระเบนราหูสองตัว[1][2]
Aquarium มีเงินบริจาคจาก Bernie Marcus ผู้ร่วมก่อตั้ง Home Depot จำนวน 250 ล้านเหรียญเป็นเงินลงทุนส่วนใหญ่ สร้างบนพื้นที่ 20 เอเคอร์ทางเหนือของ Centennial Olympic Park ในใจกลางเมืองแอตแลนตา Marcus กล่าวไว้ว่างานรับประทานอาหารค่ำฉลองวันเกิดปีที่ 60 ที่ Monterey Bay Aquarium เมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจในการสร้าง Aquarium ที่แอตแลนตา
ประวัติ
[แก้]เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 Bernard Marcus ได้ประกาศความคิดที่จะสร้าง Aquarium ขึ้นที่แอตแลนตา เพื่อส่งเสริมการศึกษาและความเติบโตทางเศรษฐกิจ Marcus และ Billi ภรรยา ได้ไปเยี่ยมชม Aquarium 56 แห่งใน 13 ประเทศเพื่อวิจัยและออกแบบโครงสร้าง และได้บริจาคเงินจำนวน 250 ล้านเหรียญเพื่อเป็นทุนก่อสร้าง[3] ต่อมาบริษัทชั้นนำต่างๆ เช่น Coca-Cola Company, Turner Broadcasting, Home Depot, UPS, AirTran Airways, BellSouth, Georgia Pacific, Time Warner, SunTrust และ Southern Company ได้สนับสนุนด้านการเงินรวมเป็นเงิน 40 ล้านเหรียญ[3] เงินบริจาคเหล่านี้ทำให้ Aquarium สามารถเปิดได้โดยไม่มีหนี้สิน
ใน พ.ศ. 2545 Marcus ได้ว่าจ้าง Jeff Swanagan ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานกรรมการบริหารของ Florida Aquarium ให้มาเป็นลูกจ้างคนแรกของ Georgia Aquarium[4] Swanagan เคยมีผลงานในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของ Florida Aquarium ขณะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร[3] Swanagan ได้มาเป็น Founding president และผู้อำนวยการบริหาร และมีบทบาทสำคัญในการสร้าง Aquarium[4][5] โดยควบคุมดูแลการก่อสร้างในทุกด้าน ตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง ไปจนถึงการจัดหาสัตว์ที่จะนำมาจัดแสดง[4]
หลังจากก่อสร้างนาน 27 เดือน พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียก็ได้เปิดให้ผู้ถือบัตรเข้าชมรายปีได้เข้าชมเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ประกอบด้วยตู้จัดแสดงสัตว์จำนวน 60 ตู้ พื้นที่ ball room 1,520 ม.² ครัวบริการอาหารสองแห่ง ร้านขายของที่ระลึกต่างๆ โรงภาพยนตร์ 4-D ห้องอาหาร และที่จอดรถ ค่าเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่คนละ $26 นักศึกษาคนละ $21.50 และเด็กคนละ $19.50 จัดว่าเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีค่าเข้าชมแพงที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา กระนั้นก็ยังมีผู้เข้าชมมากกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก โดยมีผู้เข้าชมครบหนึ่งล้านคนในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 หลังจากเปิดวันแรกเพียง 98 วัน ในปีแรกสามารถจำหน่ายบัตรรายปีได้มากกว่า 290,000 ใบ ก่อนที่จะเลิกจำหน่ายไป (Jeff Swanagan ผู้อำนวยการบริหาร ได้ให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบรรยากาศ "private club")[6] พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียมีผู้เข้าชมครบสามล้านคนในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ห้าล้านคนในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และสิบล้านคนในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552[7]
Jeff Swanagan ดำรงตำแหน่งประธานและผู้อำนวยการบริหารพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียจนถึง พ.ศ. 2551 ก่อนที่จะไปร่วมบริหารสวนสัตว์โคลัมบัส[4] Anthony Godfrey ได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานต่อมา[4] ซึ่งแรกเริ่มนั้น Swanagan ได้ว่าจ้าง Godfrey ให้เป็นประธานฝ่ายการเงินของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเมื่อ พ.ศ. 2547[4]
Collection
[แก้]พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียจัดแสดงปลาและสัตว์ทะเลอื่นๆ 100,000-120,000 ตัว จากกว่า 500 ชนิด เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2548 จำนวนตัวอย่างสัตว์ทั้งหมดถูกเปิดเผย โดยอ้างอิงจากคำกล่าวของ Marcus ใน Atlanta Journal-Constitution ว่า "ผมได้บอกว่าเรามีสัตว์น้ำมากกว่า 55,000 ตัว แต่ไม่เคยบอกว่ามีอีกมากกว่าเท่าไร" โดยก่อนหน้านั้นเคยมีรายงานว่ามีสัตว์ตัวอย่างมากกว่า 55,000 ตัว สัตว์น้ำต่างๆถูกขนส่งมาจากไต้หวันทาง MD-11 โดย UPS ในตู้ 42 ใบ UPS ได้สนับสนุนค่าขนส่งเป็นจำนวนมากกว่า $200,000
สัตว์ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดในพิพิธภัณฑ์คือ ฉลามวาฬสี่ตัวจากไต้หวัน ชื่อว่า ราล์ฟ, นอร์ตัน, อลิซ และทริกซี ตั้งชื่อตามตัวละครหลักใน The Honeymooners ราล์ฟตายด้วยอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 และนอร์ตันตายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้ตัดสินใจกระทำการุณยฆาตหลังจากเริ่มมีอาการว่ายน้ำได้ผิดปกติและไม่กินอาหาร[8] ราล์ฟและนอร์ตันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่เริ่มเปิดให้เข้าชม ต่อมาได้นำอลิซและทริกซีเข้ามาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียเป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่ได้อยู่ในเอเชียเพียงแห่งเดียวที่จัดแสดงฉลามวาฬ[4] โดยจัดแสดงในตู้ขนาด 24,000 ม³ และส่วนอื่นๆของพิพิธภัณฑ์ได้ออกแบบให้อยู่รอบตู้จัดแสดงฉลามวาฬนี้[4] ฉลามวาฬจากไต้หวันเหล่านี้ผ่านการควบคุมดูแลโดย Jeff Swanagan และเจ้าหน้าที่ชีววิทยา และถูกเก็บเป็น "ความลับสุดยอด"[4] การเคลื่อนย้ายต้องใช้ทั้งอากาศยาน รถบรรทุก และเรือขนาดใหญ่เพื่อขนส่งมายังแอตแลนตา[4] ฉลามวาฬทั้งสี่ตัวถูกนำเข้ามาตาม Individual fishing quota ของไต้หวัน ซึ่งทางไต้หวันได้ยกเลิกไปนับแต่นั้นมา[4] โดยตามโควตานี้ ถ้าฉลามวาฬเหล่านี้ไม่ถูกทางพิพิธภัณฑ์จัดซื้อไป จะถูกฆ่าและกินเนื้อ[4]
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 Fisheries Agency ของไต้หวันได้ประกาศว่า ทางพิพิธภัณฑ์ได้รับอนุญาตให้จัดซื้อฉลามวาฬอีกสองตัว ก่อนที่ไต้หวันจะประกาศห้ามจับฉลามวาฬใน พ.ศ. 2551[8] เมื่อวนที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ฉลามวาฬสองตัวก็มาถึงพิพิธภัณฑ์ ทั้งสองตัวถูกจับเมื่อต้น พ.ศ. 2550 ตัวหนึ่งตั้งชื่อว่า Taroko ตามชื่ออุทยานแห่งชาติ Taroko Gorge และอีกตัวหนึ่งตั้งชื่อว่า Yushan ตาม Jade Mountain ในไต้หวัน[9]
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในสองพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในสหรัฐอเมริกาที่จัดแสดง Great hammerhead โดยอีกที่หนึ่งคือ Adventure aquarium[10] และยังจัดแสดงวาฬ beluga ขนาดยาวสามเมตรจำนวนห้าตัว เป็นเพศผู้สองตัว ชื่อว่า Nico และแกสเปอร์ ถูกช่วยเหลือมาจากสวนสนุกในเม็กซิโกซิตีที่ซึ่งทั้งสองอาศัยอยู่ใต้รถไฟเหาะ แกสเปอร์ตายโดยการุณยฆาตเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากมีน้ำหนักน้อย มีรอยโรคผิวหนัง และโรคกระดูก[11] วาฬเพศเมียที่ชื่อ Marina ตายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยคาดว่าตายตามธรรมชาติ (มีอายุ 25 ปี) Nico ตายหลังจากถูกย้ายไปยัง SeaWorld San Antonio ชั่วคราวระหว่างปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ โดยคาดว่าตายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552[12] วาฬเพศเมียสองตัวที่เหลือคือ นาตาชา และ Maris ได้ขอยืมมาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวยอร์กเพื่อการผสมพันธุ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในหกแห่งในสหรัฐอเมริกาที่มีวาฬ beluga ซึ่งรวมถึงที่ Chicago's Shedd Aquarium ด้วย
ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะจัดแสดงสัตว์ทะเลที่พบในสหรัฐอเมริกาได้ยาก พิพิธภัณฑ์ได้ขอกระเบนราหูหนึ่งตัวมาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำใน Durban แอฟริกาใต้ กระเบนตัวนี้มีชื่อว่า "Nandi" ถูกพบติดอยู่กับตาข่ายชายฝั่งที่ใช้ป้องกันฉลาม เจ้าหน้าที่ที่ Durban facility ระบุว่า Nandi โตเกินกว่าที่ Durban facility จะรองรับได้ จึงต้องการให้ย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียที่ใหญ่กว่า Nandi ถูกนำมาจัดแสดงในส่วน Ocean Voyager เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยเป็นกระเบนราหูตัวแรกที่จัดแสดงในสหรัฐอเมริกา[13] และทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในสี่แห่งในโลกที่มีกระเบนราหู[14] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ทางพิพิธภัณฑ์ก็ได้นำกระเบนราหูอีกตัวหนึ่งมาจัดแสดงเพิ่ม[2]
การจัดแสดง
[แก้]การจัดแสดงสัตว์น้ำแบ่งออกเป็นห้าส่วน แต่ละส่วนจะจัดแสดงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ได้แก่
- Georgia Aquarium - ประกอบด้วย Touch pool ที่มีแมงดาทะเล ดาวทะเล กระเบน และกุ้งต่างๆ ตู้จัดแสดงเต่าหัวค้อนและปลาใน Gray's Reef National Marine Sanctuary และห้องฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับวาฬไรต์ที่ใกล้สูญพันธุ์
- River Scout - จัดแสดงสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำในแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชีย และรัฐจอร์เจีย และมี Overhead river ที่สามารถชมปลาว่ายอยู่เหนือศีรษะได้
- สัตว์ที่จัดแสดง : American milk frog, American alligator, Arapaima, Arawana, นากเล็กเล็บสั้น, Bigmouth buffalo, Black crappie, Bluegill, Bowfin, ปลากดอเมริกัน, ปลาหมอสี, ปลาปอมปาดัวร์, ปลาดุกไฟฟ้า, ปลาไหลไฟฟ้า, ปลางวงช้าง, Emerald tree boa, ปลาจระเข้จมูกยาว, ปลาเปคู, กบลูกศรพิษ, ปลาปิรันยาแดง, Red-eared slider, Shovelnose sturgeon, Smallmouth buffalo, Yellowbelly slider
- Cold Water Quest
- Ocean Voyager
- Tropical Diver
ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมี "4D" movie "Deepo's Undersea 3D Wondershow" และ Ocean Voyager – Journey With Giants exhibit hall สัตว์ทะเลขนาดใหญ่ทุกชนิด เช่น ฉลามวาฬ ปลากระเบนราหู ปลาเก๋ายักษ์ และปลากระเบนจากหน้าต่างบานใหญ่หรืออุโมงค์ใต้น้ำ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-19. สืบค้นเมื่อ 2009-11-05.
- ↑ 2.0 2.1 Andres, Bob (2009-09-03). "Second manta ray at Georgia Aquarium". The Atlanta Journal-Constitution. p. A1.
{{cite news}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 Huettel, Steve (2009-06-30). "Jeff Swanagan, who turned around Florida Aquarium, dies at 51". St. Petersburg Times. สืบค้นเมื่อ 2009-07-12.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 Tharpe, Jim (2009-06-30). "Georgia Aquarium creator dies". Atlanta Journal Constitution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-12.
- ↑ Morris, Mike (2009-06-29). "Former Georgia Aquarium director Jeff Swanagan dies". Atlanta Journal Constitution. สืบค้นเมื่อ 2009-07-12.[ลิงก์เสีย]
- ↑ No fish story: Aquarium draws million in 3 months David E. Williams, CNN, 1 March 2006. Retrieved 24 August 2006
- ↑ Davis, Mark (2007-05-23). "Aquarium welcomes 5 millionth visitor". Atlanta Journal-Constitution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-24.
- ↑ 8.0 8.1 Simons, Craig (2007-05-25). "Taiwan approves export of 2 whale sharks". Atlanta Journal-Constitution. สืบค้นเมื่อ 2007-05-25.
- ↑ Davis, Mark (2007-06-01). "Two whale sharks join trio at Georgia Aquarium". Atlanta Journal-Constitution. สืบค้นเมื่อ 2007-06-01.
- ↑ Mollet, Henry F. (2009). Great Hammerhead, Sphyrna mokarran (Rueppell, 1837) in Captivity. Version September 2009. Accessed 14 October 2009.
- ↑ "Gasper Press Release". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-11-09.
- ↑ Howard Pousner (2009-11-02). "Aquarium beluga dies". Atlanta Journal-Constitution. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
- ↑ Leon Stafford (2008-08-25). "Georgia Aquarium adds 9-foot manta ray". Atlanta Journal-Constitution. สืบค้นเมื่อ 2008-08-25.
- ↑ "About Nandi". Georgia Aquarium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
Cited references
General references
- Tharpe, Jim (June 14, 2005) Surprise at aquarium: 100,000 fish, in from Asia Atlanta Journal-Constitution
- Seabrook, Charles (July 8, 2005) Georgia Aquarium acquires belugas from Mexico Atlanta Journal-Constitution
- Tharpe, Jim (August 14, 2005) Aquarium's lofty goal: 'Save planet' Atlanta Journal-Constitution
- Tharpe, Jim (September 7, 2005) 6 companies help make up aquarium financing shortfall Atlanta Journal-Constitution
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Georgia Aquarium website
- Central Atlanta Progress aquarium information page เก็บถาวร 2005-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- CNN.com – Big window to the sea
- Google Earth – 3D Model เก็บถาวร 2007-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Interesting Photos of Georgia Aquarium เก็บถาวร 2009-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Georgia Aquarium Photos เก็บถาวร 2009-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Flickr Photos Tagged with Georgia Aquarium
- tvsdesign: Architects & Interior Designers