พระนางอินซู
พระนางอินซู | |
---|---|
พระวรชายาในมกุฎราชกุมารแห่งโชซอน | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 1998 – 2 กันยายน พ.ศ. 2000 |
พระพันปีหลวงแห่งโชซ็อน | |
ดำรงพระยศ | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2012 – 20 มกราคม พ.ศ. 2037 (24 ปี 20 วัน) |
ก่อนหน้า | พระนางช็องฮี |
ถัดไป | พระนางช็องฮย็อน |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งโชซ็อน | |
ระหว่าง | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2012 – พ.ศ. 2020 กับ พระนางช็องฮี |
พระมหากษัตริย์ | พระเจ้าซ็องจง |
พระราชสมภพ | 8 กันยายน พ.ศ. 1980 |
สวรรคต | 27 เมษายน พ.ศ. 2047 (66 ปี 231 วัน) พระราชวังคย็องบก |
พระสวามี | เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง |
พระราชบุตร | เจ้าชายว็อลซาน เจ้าหญิงมย็องซุก พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน |
ราชวงศ์ | โชซอน |
พระพันปีหลวงอินซู ตระกูลฮัน (소혜왕후 한씨,8 กันยายน พ.ศ. 1980 – 27 เมษายน พ.ศ. 2047) หรือ พระมเหสีโซฮเย พระวรชายาใน เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง พระราชมารดาใน พระเจ้าซ็องจง และเป็นพระอัยยิกาใน ย็อนซันกุน และ พระเจ้าชุงจง ถือได้ว่าพระนางเป็นหนึ่งในสตรีที่ทรงอำนาจและอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์โชซ็อน
พระราชประวัติ
[แก้]พระพันปีหลวงอินซู เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 1980 ในรัชสมัย พระเจ้าเซจงมหาราช เป็นธิดาของฮันฮว็อก รองอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยพระเจ้าเซโจ
เสกสมรส
[แก้]ต่อมาเสกสมรสกับ องค์ชายโทว็อน อีจางหรือต่อมาคือ เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าเซโจ กับ พระนางช็องฮี มีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ ได้แก่ องค์ชายวอลซาน,องค์หญิงมยองซุก และ องค์ชายชาซาน ซึ่งต่อมาได้ขึ้นเป็นพระราชาองค์ที่ 9 แห่งโชซอน พระนามว่าพระเจ้าซ็องจง
พระพันปีและผู้สำเร็จราชการ
[แก้]หลังจากที่พระองค์มีพระประสูติกาลองค์ชายชาซาน ไม่นานนักก็ได้มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อ เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง ได้ประชวรสวรรคต พระนางจึงต้องพ้นจากตำแหน่งและเสด็จออกไปอยู่นอกวังเมื่อพระชนมายุได้ 20 ชันษา ทำให้พระนางต้องเลี้ยงพระโอรสทั้งสองอยู่นอกวังเป็นเวลา 12 ปี จนองค์ชายชาซานโอรสองค์เล็กของพระนางขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าซ็องจง พระราชาองค์ที่ 9 แห่งโชซอนพระนางจึงได้คืนสู่ตำแหน่งโดยได้รับการสถาปนาเป็นพระพันปีหลวงแห่งโชซอนมีพระนามว่า พระพันปีหลวงยินซู แห่งโชซอนขณะมีพระชนม์มายุได้ 32 ชันษา ซึ่งคำว่า “อินซู” มากจากคำนำหน้าของชื่อเต็มพระนางคือ "อินซู ฮวีซุก มยองอี โซฮเย วังฮู" ส่วนสวามีของพระนาง เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง ก็ได้รับการสถาปนาพระอัฐิเป็นพระเจ้าท็อกจงมีศักดิ์เทียบเท่ากษัตริย์ในเวลานี้พระนางได้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งโซซอนร่วมกับพระอัยยิกาจองฮีพระสัสสุของพระนาง พระพันปีอินซูนั้นทรงมีอิทธิพลอย่างมากในราชสำนัก พระนางทรงแทรกแซงราชกิจของพระเจ้าซองจง ตลอดรัชกาลเหตุการณ์ที่ถือว่าเกรียวกราวมาก และเป็นเหตุการณ์บทเรียนในประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นหลังต้องกล่าวถึงก็คือคดีการประหาร พระมเหสียุน สืบเนื่องจากมเหสียุนทำพระพักตร์พระเจ้าซองจงเป็นแผล ซึ่งตามกฏของราชสำนักแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องผิดร้ายแรง เข้าข่ายปลงพระชนม์กษัตริย์กันเลยทีเดียว พระพันปีอินซูพิโรธมาก จึงผลักดันให้พระเจ้าซองจงปลดมเหสียุน และขับออกจากวัง ใน ค.ศ. 1479 และเมื่อจับได้ว่า อดีตมเหสียุน ยังมีฐานอำนาจ จึงสั่งให้พระเจ้าซองจงออกพระราชโองการประหารอดีตมเหสียุน ใน ค.ศ. 1482
สวรรคต
[แก้]พระนางอินซูทรงถูกพระเจ้ายอนซัน ผู้เป็นพระนัดดาของพระนางสำเร็จโทษ ในปี ค.ศ.1504 เนื่องจากพระนางเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการประหารชีวิตอดีตพระมเหสียุน พระมารดาของพระเจ้ายอนซัน