ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่ง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่ง หรือ ไฮเปอร์ไจอันต์ (อังกฤษ: Hypergiant; ระดับกำลังส่องสว่าง 0) คือดาวฤกษ์ที่มีมวลและกำลังส่องสว่างขนาดมหาศาล ซึ่งเป็นตัวแสดงว่ามีอัตราการสูญเสียมวลที่สูงมาก
ดาวฤกษ์ชนิดนี้มีระดับความสว่างสูงยิ่งยวด ถึงหลายล้านเท่าของกำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์ทีเดียว และมีอุณหภูมิสูงมากระหว่าง 3,500 K ถึง 35,000 K มวลของดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งมีมหาศาล ทำให้ช่วงอายุของดาวนี้สั้นมากเมื่อพิจารณาในเส้นเวลาทางดาราศาสตร์ คือเพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับอายุของดาวฤกษ์อื่น เช่น ดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งมีอายุราวหมื่นล้านปี ด้วยเหตุนี้ ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งจึงมีอยู่น้อยมาก ที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้ก็มีเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้น
ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งซึ่งเป็นที่รู้จัก
[แก้]การศึกษาดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งทำได้ลำบากมากเพราะหายากและมีอยู่เป็นจำนวนน้อย ตามเหตุผลเท่าที่ทราบกัน ดูเหมือนจะมีขีดจำกัดความสว่างสูงสุดอยู่สำหรับดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งที่มีอุณหภูมิเย็นที่สุด (คือพวกที่มีสีเหลืองและแดง)ในจำนวนนี้ไม่มีดวงใดที่สว่างเกินกว่า M -9.5 ซึ่งเท่ากับกำลังส่องสว่างประมาณ 500,000 เท่าของกำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์
ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งน้ำเงิน
[แก้]- ซีตา¹ แมงป่อง
- เอ็มเคซี 314
- เอชดี 169454
- บีดี -14° 5037
- หงส์ โอบี 2-12
- อาร์ 136 เอ 1 เป็นดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งที่มีมวลมากที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในปัจจุบัน มีมวลประมาณ 265 เท่าของมวลดวงอาทิตย์
ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งขาว
[แก้]ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลือง
[แก้]เป็นประเภทดาวฤกษ์ที่หาได้ยากมาก มีเพียง 7 ดวงเท่านั้นที่ทราบว่าอยู่ในดาราจักรของเรา
- โร แคสสิโอเปีย อยู่ทางตอนเหนือของกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย มีกำลังส่องสว่างประมาณ 500,000 เท่าของดวงอาทิตย์
- วี 509 แคสสิโอเปีย
- ไออาร์ซี+10420
ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งแดง
[แก้]- อาร์ดับเบิลยู ซีฟิอัส
- เอ็นเอ็มแอล หงส์
- วีเอ็กซ์ คนยิงธนู
- วีวี ซีฟิอัส
- เอส เพอร์ซิอัส
- วีวาย สุนัขใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ที่รู้จักทั้งหมด คือประมาณ 1800 ถึง 2100 เท่าของดวงอาทิตย์ หรือเทียบได้กับเส้นผ่านศูนย์กลางวงโคจรของดาวเสาร์