ข้ามไปเนื้อหา

ดอกเบี้ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวิชาการเงินและเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ย (อังกฤษ: interest) เป็นการชำระเงินจากผู้กู้หรือสถาบันการเงินที่เอาเงินฝาก ให้แก่ผู้ให้กู้หรือผู้ฝากเป็นปริมาณที่มากกว่าเงินต้น (คือปริมาณที่ยืมมา) โดยมีอัตราหนึ่ง[1] อัตราดอกเบี้ยเท่ากับปริมาณดอกเบี้ยที่จ่ายหรือได้รับในช่วงเวลาหนึ่งหารด้วยเงินต้นที่กู้หรือให้กู้ (ปกติแสดงเป็นร้อยละ)

ตัวอย่างเช่น ลูกค้าปกติจะจ่ายดอกเบี้ยในการกู้ยืมจากธนาคาร ฉะนั้นเมื่อจ่ายคืนจะต้องจ่ายเงินมากกว่าที่ยืมมา หรือลูกค้าอาจได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝาก ฉะนั้นเมื่อถอนคืนจะได้รับมากกว่าเงินที่ฝากไปตอนแรก ในกรณีของเงินฝาก ลูกค้าเป็นผู้ให้กู้ และธนาคารจะมีบทบาทเป็นผู้กู้

ดอกเบี้ยทบต้น (compound interest) หมายความถึง ดอกเบี้ยที่ได้รับจากดอกเบี้ยก่อนหน้านอกเหนือไปจากเงินต้น เมื่อทบต้น ปริมาณหนี้จะเติบโตขึ้นแบบชี้กำลัง และการศึกษาดอกเบี้ยทบต้นในทางคณิตศาสตร์นำไปสู่การค้นพบจำนวน e[2] ในทางปฏิบัติ ดอกเบี้ยมักคำนวณเป็นรายวัน รายเดือนหรือรายปี และผลกระทบจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอัตราทบต้น

สูตรการคำนวณดอกเบี้ย

[แก้]

เมื่อ A คือเงินรวมที่ได้รับ P คือเงินต้น r คืออัตราดอกเบี้ยต่อช่วงเวลา และ n คือจำนวนของระยะช่วงเวลา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Definition of interest in English". English Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-27. สืบค้นเมื่อ 27 December 2017. Money paid regularly at a particular rate for the use of money lent, or for delaying the repayment of a debt.
  2. O'Connor, J J. "The number e". MacTutor History of Mathematics. สืบค้นเมื่อ 26 August 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]